The Kingdom of Thailand

The Kingdom of ThailandThe Kingdom of Thailand
Thailand, also called the Land of Smiles, is the most popular tourist destination in South-East Asia due to its wealth of natural beauty, culture and history, gorgeous islands and beaches and the mouth-watering food. In the North you will find breathtaking mountain ranges with waterfalls and fast flowing rivers for trekking and rafting, ethnic tribal groups with unique customs and clothing and people famous for their courtesy and hospitality. The North-East, or Isan, is one of the country’s most intriguing destination with many Stone Age and Bronze Age dwellings and artifacts, and several significant temples and national parks. The Central plains and the East Coast are dotted with national parks, seaside resorts and islands.

Wednesday, January 5, 2011

วันที่ 5-9 มกราคม 2554 ไหว้พระปฏิมาโบราณสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่แผ่นดิน ที่เดียวในเมืองไทย





 
ฤกษ์ดีปีใหม่ ไหว้พระพุทธรูปวังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดินเนื่องในวันดิถีขึ้นปีใหม่ กรมศิลปากร สำนักพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ได้จัดกิจกรรม "ฤกษ์ดีปีใหม่ ไหว้พระพุทธรูปวังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน" 1 ปี มี 1 ครั้ง โดยจะอัญเชิญพระพุทธรูปอันเป็นมงคลพิเศษแต่โบราณ ซึ่งเก็บรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้มีโอกาสกราบสักการบูชาอย่างใกล้ชิดเพื่อความเป็นสิริมงคลทั่วกัน ณ หอพระวังหน้า พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ รวมพระพุทธรูปสำคัญ 9 พระองค์ คือ

http://www.matichon.co.th/online/2011/01/12938739741293874795l.jpg

1. พระพุทธสิหิงค์ พระปฏิมาแบบสุโขทัย ล้านนา นับถือเป็นพระพุทธปฏิมาศักดิ์สิทธิ์ตามตำนานพระพุทธสิหิงค์ ได้รับการอัญเชิญไปประดิษฐานเป็นสิริยังพระนครหลวงของไทยทุกแห่ง นับแต่กรุงสุโขทัย เชียงใหม่ พระนครศรีอยุธยาตราบเท่าถึงกรุงรัตนโกสินทร์ จึงสถิตเป็นมงคลแก่พระนคร ประจำ ณพระราชวังบวรสถานมงคล กรุงเทพมหานครได้อัญเชิญออกให้ประชาชนถวายน้ำสงกรานต์เป็นประจำทุกปี นับเป็นพระพุทธรูปอำนวยความอุดมสมบูรณ์และสวัสดิมงคล



http://www.matichon.co.th/online/2011/01/12938739741293874818l.jpg

2. พระหายโศก พระปฏิมาศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21 เป็นพระพุทธรูปของหลวงพระราชทาน มีนามเป็นมงคลพิเศษ จากจารึกฐานพระพุทธรูปกล่าวว่าส่งมาถึงกรุงเทพฯ (จากล้านนา) ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.2399 เดิมคงใช้ในพระราชพิธีหลวง จนกระทั่งกรมพระราชพิธี ส่งมาเก็บรักษาในพิพิธภัณฑสถานเมื่อ พ.ศ.2474 เชื่อกันเป็นพระพุทธรูปอำนวยความสุข สวัสดี



http://www.matichon.co.th/online/2011/01/12938739741293874850l.jpg

3. พระไภษัชยคุรุ ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 17 – 18 แสดงปางสมาธินาคปรกทรงเครื่อง มีผอบพระโอสถอยู่ในพระหัตถ์ เป็นพระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นตามคติพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ทรงเป็นหนึ่งในบรรดาพระพุทธเจ้าซึ่งมีอยู่เป็นอนันต์ นับถือว่าทรงเป็นพระพุทธเจ้าแพทย์ เนื่องจากทรงบำเพ็ญพระบารมีโดยอธิษฐานความปราศโรคภัยของผู้คนในกาลสมัยของพระองค์ ผู้นับถือและบูชาพระองค์จึงปราศจากโรคภัยเบียดเบียน สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งกรุงกัมพูชา สร้างพระราชทานเป็นพระปฏิมาประธานในอโรคยศาลา เพื่อผู้ป่วยและประชาชนบูชา เพื่อพ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ

http://www.matichon.co.th/online/2011/01/12938739741293874788l.jpg

4. พระชัยลงอักขระขอม ปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 19 -20 สร้างขึ้นเป็นมงคลในการศึกสงคราม (เช่น พระชัยหลังช้างและพระชัยอัญเชิญไปในเรือรบสำหรับนำทัพ) และการพระราชพิธี (เช่น พระชัยพิธี) พระชัยอัญเชิญไปในการทัพ เพื่อประสบชัยชนะแก่อริราชศัตรู และอัญเชิญในการพิธี เพื่อปราศการรบกวนเบียดเบียนบีฑาและความสัมฤทธิ์ผลแห่งพิธีกรรมองค์พระชัยลงอักขระขอมเป็นหัวใจพระคาถาบูชาพระพุทธเจ้า หมายถึง ชัยชำนะโดยยึดถือคุณพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย


http://www.matichon.co.th/online/2011/01/12938739741293874788l.jpg


5. พระพุทธรูปทรงเครื่องพระมหาจักรพรรดิ ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่12 - 23 สร้างขึ้นตามคติเรื่องชมพูบดีสูตร หรือพระพุทธเจ้าทรงทรมานพระยาชมพูบดี ทรงนิรมิตพระองค์ทรงเครื่องพระจักรพรรดิราช เหนือพระยามหากษัตริย์ทั้งปวง เพื่อคลายทิฐิมานะแห่งพระยามหาชมพูกษัตริย์ผู้ทรงอานุภาพพระพุทธรูปทรงเครื่องพระมหาจักรพรรดิจึงหมายถึง อำนาจ และธรรมอันเป็นแก่นสารยิ่งกว่าอำนาจแห่งทรัพย์สมบัติทั้งหลาย พระพุทธรูปดังกล่าวนี้นิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์พระเจ้าแผ่นดิน และพระบรมวงศานุวงศ์ผู้เป็นหน่อพุทธางกูร


http://www.matichon.co.th/online/2011/01/12938739741293874860l.jpg


6. – 7. พระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์แดงทั้งคู่ ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นพระพุทธรูปมงคลด้วยวัตถุพิเศษ ตามดำนานพระแก่นจันทน์ ว่าด้วยสมัยพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดพุทธมารดายังดาวดึงส์สวรรค์เป็นเวลา 3 เดือน พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงอนุสรณ์ถึงพระพุทธองค์จึงโปรดให้สร้างพระพุทธรูปไม้ แก่นจันทน์ขึ้นในครั้งนั้น พระแก่นจันทน์จึงเป็นรูปแทนเสมือนองค์พระพุทธเจ้า เพราะสร้างในขณะพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่พระเจ้าแผ่นดินและผู้มีอำนาจ วาสนาจึงมักสร้างพระพุทธรูปจากไม้จันทน์หอมพระไม้แก่นจันทน์แดงทั้งคู่นี้ แสดงปางประทานอภัย มีความหมายถึงการปกป้องภยันตรายทั้งปวง


http://www.matichon.co.th/online/2011/01/12938739741293874806l.jpg

8. พระพุทธรูปหลวงพ่อนาก ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 20 เป็นพระพุทธรูปมงคลด้วยวัตถุพิเศษ พระองค์สีนาก เนื่องจากเนื้อสำริดมีส่วนผสมของทองคำมากเป็นพิเศษ พระเนตรฝังนิล ประทับขัดสมาธิเพชรพระบาททั้งสองข้างจำหลักลวดลายมงคล จากจารึกฐานพระพุทธรูปเป็นของพระยายุธิษฐิระเจ้าเมืองพะเยาสร้างเมื่อพ.ศ.2019 เดิมพบในเจดีย์โบราณที่เมืองพะเยา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มาเมื่อครั้งเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ พ.ศ.2469 จึงพระราชทานให้เก็บรักษาในพิพิธภัณฑสถานพระพุทธรูปแสดงปางสมาธิ หมายถึงการตรัสรู้ธรรม

http://www.matichon.co.th/online/2011/01/12938739741293874783l.jpg

9. พระพุทธรัตนมหามุนี พระแก้วน้อย ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21เป็นพระพุทธรูปมงคลด้วยวัตถุพิเศษ องค์พระพุทธรูปจำหลักจากอัญมณีเนื้ออ่อนแก้วสีเขียว พุทธศิลป์ล้านนาสมัยหลัง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รับถวายจาก พ.ต.อ.อานนท์ อาขุบุตรและครอบครัวพระราชทานแก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อ พ.ศ.2534

นอกจากนี้เชิญชวนกราบนมัสการพระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานภายในพระราชวังหน้า ณ อาคารสถานต่างๆ เฉพาะวาระพิเศษ คือ พระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุพระอัครสาวกและพระอสีติสาวก จำนวน 24 องค์ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์


http://www.matichon.co.th/online/2011/01/12938739741293874801l.jpg
พระพุทธรูปศิลาขาว ศิลปะทวารวดี อายุเก่าแก่กว่า 1,000 ปี เดิมเป็นพระพุทธรูป 1 ใน 4 พระองค์ ซึ่งประดิษฐานอยู่กับวิหารวัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม จำหลักจากศิลาอ่อนสีขาว ปางประทานปฐมเทศนา ปัจจุบันประดิษฐาน ณ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ 

http://www.matichon.co.th/online/2011/01/12938739741293874833l.jpg

พระคเณศวร เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ ศิลปะชวาภาคตะวันออก พุทธศตวรรษที่ 17 – 18 ทรงประทับเหนือบัลลังก์กะโหลกในฐานะคณปติเจ้าแห่งภูติปีศาจ เพื่อขจัดอุปสรรคทั้งปวง ณ อาคารมหาสุรสิงหนาท 

 http://www.matichon.co.th/online/2011/01/12938739741293874812l.jpg

หอแก้วศาลพระภูมิ ที่สถิตของพระภูมิเจ้าที่ประจำพระราชวังบวรสถานมงคลประดิษฐานเหนือเขาแก้ว ด้านหลังพระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์

  http://www.matichon.co.th/online/2011/01/12938739741293874841l.jpg

พระป้ายฉลองพระองค์ สถิตพระวิญญาณพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างขึ้นเพื่อบูชาในพระราชวังบวรสถานมงคลตามคติอย่างจีน ตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 4หรือต้นรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันประดิษฐาน ณ ห้องพระป้าย พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์
จัดจำหน่ายดอกไม้- ธูปเทียน เครื่องพุทธบูชา เช่าบูชาเหรียญและรูปหล่อพระคเณศเทพเจ้าแห่งการขจัดอุปสรรคและศิลปกรรม เทวสัญลักษณ์ประจำกรมศิลปากร ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เข้ากราบนมัสการพระพุทธรูป ไม่มีค่าธรรมเนียมเข้าชม 


เริ่มกิจกรรมไหว้พระปีใหม่ ... 

วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม 2554 ,  
วันพุธที่ 5 มกราคม วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม 2554 เวลา 9.00 น. – 16.00 น.

ในวันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม 2554 กรมศิลปากรจัดการบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว งดกิจกรรมไหว้พระ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ระหว่าง 9.00 – 12.00 น.